วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.อาเซียนหมายถึงอะไร
ที่มา www.เกร็ดความรู้.net
อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมตัวกันในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN อ่านออกเสียงภาษาไทยว่า อาเซียน โดยมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนก็เพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้ และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ




2.อาเซียนมีกี่ประเทศ อะไรบ้าง
A มีสมาชิกทั้งหมด 10ประเทศ ซึ่งก็คือสมาชิกของสมาคมประชาชาติอาเซียน (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) นั่นเอง
รายชื่อประเทศสมาชิกของ AEC มีดังนี้ (เรียงตามตัวอักษรภาษาอังอฤษ)
1. Brunei Darussalam (ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม)
2. Cambodia (ประเทศกัมพูชา)
3. Indonesia (ประเทศอินโดนีเซีย)
4. Laos (ประเทศลาว)
5. Malaysia (ประเทศมาเลเซีย)
6. Myanmar (ประเทศเมียนมาร์ หรือ ประเทศพม่า)
7. Philippines (ประเทศฟิลิปปินส์)
8. Singapore (ประเทศสิงคโปร์)
9. Thailand (ประเทศไทย)
10. Vietnam (ประเทศเวียดนาม)


3.อาเซียนมาจากคำว่าอะไร

ที่มา www.aseanthai.net
ASEAN ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า อาเซียน

4.อาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.ใด
ที่มา www.aseanthai.net


     กำเนิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ของผู้นำประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ที่จะให้มีการรวมกลุ่มและร่วมมือกันเสริมสร้างให้ภูมิภาคมีสันติภาพอันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
      ซึ่งต่อมาบรูไนดารุสซาลามได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 ในปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 สปป.ลาวและเมียนมาเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี พ.ศ. 2542   ทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ มีประชากรรวมกว่า 600 ล้านคน


5.สัญญาลักษณ์ของอาเซียนคืออะไร
สัญลักษณ์อาเซียน ได้รับการออกแบบให้เป็นรูปรวงข้าวสีเหลืองทองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้นที่มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ รวมกันอยู่เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน โดยพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาวและน้ำเงิน แสดงถึงความเป็นเอกภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน วางอยู่ใต้รวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งมวล ส่วนสีน้ำเงินในสัญลักษณ์อาเซียน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง



สีในสัญลักษณ์อาเซียนมีความหมายดังนี้
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง


 6.ประเทศที่ค้าขายร่ำรวยทีสุดในประชาคมอาเซียนคือประเทสใดบ้าง
ที่มา pantip.com
ในช่วงนี้เราคงได้ยินใครต่อใครพูดถึง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือ AEC กันอยู่บ่อยๆ จนหลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมันคืออะไร ? แล้วมันสำคัญกับประเทศเราอย่างไร ? ในที่นี้เรามีคำตอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ที่จะจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2558 เพื่อสร้างความเป็นเสรีในการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่การเปิดเสรีในลักษณะดังกล่าว ความแตกต่างของฐานะเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอย่างสูง เพราะประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เหมือนที่กำลังเกิดปัญหากับหลายประเทศในสหภาพยุโรป ดังนั้นเราจึงได้นำข้อมูลเบื้องต้นของ AEC และฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนมาเปรียบเทียบให้เห็น ติดตามรายละเอียดได้จากที่นี่
   "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (Association of South East Asian Nations) หรือ "อาเซียน" (ASEAN) คือองค์กรแม่ของ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community : AEC) แนวคิดในการจัดตั้ง AEC ได้ตกผลึกจากการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2545 ที่ประเทศกัมพูชา โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และพม่า ได้ตกลงกันที่จะจัดตั้ง "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community) ขึ้น ซึ่งมีลักษณะความร่วมมือระหว่างประเทศคล้ายกับ "สหภาพยุโรป" (European Union : EU)
   ประชาคมอาเซียนนี้มี 3 เสาหลัก ประกอบไปด้วย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และประชาคมความมั่นคงอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 พ.ศ.2546 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ขึ้นก่อนภายในปี 2563 โดยอาเซียนได้ทำพิมพ์เขียวในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งมียุทธศาสตร์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้

การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

   เมื่อทุกเหรียญมีสองด้าน การร่วมมือทางเศรษฐกิจลักษณะดังกล่าวที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ ก็ย่อมมีโทษแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เกษตรกรไทยอาจต้องประสบปัญหาเมื่อสินค้าเกษตรบางชนิดจะถูกตีตลาดโดยสินค้าราคาต่ำกว่าซึ่งนำเข้ามาอย่างเสรี แรงงานฝีมือของไทยจะไหลออกไปทำงานต่างประเทศเพื่อรับค่าจ้างที่สูงกว่า ส่วนแรงงานค่าจ้างต่ำจากเพื่อนบ้านจะไหลเข้ามาแย่งงานกับแรงงานชาวไทย เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยการสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง AEC ให้กับประชาชนทุกคน จึงจะสามารถปรับตัวเตรียมรับกับสถานการณ์การเปิดเสรีในหลายๆ ด้านที่กำลังจะมาถึงในอีก 3 ปีนี้ได้
   นอกจากนั้นอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกลุ่มความร่วมมือ ประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนจะกลายเป็นเหยื่อของประเทศที่ร่ำรวยกว่า ในขณะเดียวกันประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนก็ยังเป็นภาระให้กับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ฉุดดึงกันล้มไปทั้งกลุ่มด้วย
   ยกตัวอย่างเช่น ประเทศ A มีฐานะทางเศรษฐกิจแข็งแกร่ง มีความพร้อมสำหรับการเปิดเสรี, ประเทศ B มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจระดับปานกลาง และประเทศ C เป็นประเทศฐานะยากจน แต่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันขึ้น เงินทุนจากประเทศ A จะไหลอย่างเสรีเข้ามาถลุงใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ C จนไม่เหลือซาก และเมื่อประเทศ C ทำท่าจะล้มลง ประเทศ B ก็จำต้องยื่นมาเข้าไปช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามจนมาดึงประเทศ B ให้ล้มตามไปด้วย เท่ากับว่า ประเทศ A ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ ได้ประโยชน์จากทรัพยากรของทั้งประเทศ B และ C ความสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าวนี้กำลังเกิดขึ้นจริงที่สหภาพยุโรป โดยเฉพาะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศกรีซซึ่งอาจจะดึงให้ประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปต้องพลอยล้มตามไปด้วย
   ตัวเลขสถิติที่แสดงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า ประเทศใดมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและมีแนวโน้มที่จะได้เปรียบจากการเปิดเสรีของ AEC ดังตารางต่อไปนี้





จากตารางที่ 1 แม้ประเทศอินโดนีเซียจะมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศซึ่งปรับความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อแล้ว (GDP purchasing power parity : PPP) สูงกว่า 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่หากหารด้วยจำนวนประชากรแล้ว ชาวสิงคโปร์จะมีอำนาจในการซื้อสูงสุด คือ รายละ 59,900 ดอลล่าร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศในเมื่อปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของ real GDP ต่ำที่สุดในกลุ่ม หรือเพียง 0.1% เท่านั้น


       จากตารางที่ 2 จะเห็นว่า ประเทศอินโดนีเซียมีรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลสูงมาก ทิ้งห่างประเทศไทยซึ่งอยู่ในอันดับ 2 กว่าเท่าตัว แต่ประเทศอินโดนีเซียก็มีงบประมาณขาดดุลสูงถึง 9,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และยังมีหนี้ต่างประเทศเป็นมูลค่าสูงที่สุดในกลุ่มด้วย ดังนั้นฐานะการคลังของประเทศอินโดนีเซียจึงยังไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ประเทศที่มีฐานะการคลังแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม คือ ประเทศสิงคโปร์ เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีงบประมาณเกินดุล มีหนี้ต่างประเทศน้อยมาก และมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในกลุ่ม ส่วนประเทศไทยของเราแม้จะมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม แต่ก็มีหนี้ต่างประเทศเป็นมูลค่าใกล้เคียงกัน และมากเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มด้วย

จากตารางที่ 3 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมนุษย์มากที่สุดในกลุ่ม ด้วยจำนวนประชากรที่เกิน 200 ล้านคน และกำลังแรงงานที่เกิน 100 ล้านคน ต่างกันอย่างลิบลับกับประเทศบรูไนที่มีกำลังแรงงานเพียง 2 แสนคนเท่านั้น เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าหลังเปิดเสรี แรงงานต่างประเทศจำนวนมากจะทะลักเข้าสู่ประเทศบรูไน สำหรับประเทศไทยของเรา แม้มีจำนวนประชากรน้อยกว่าประเทศฟิลิปปินส์ แต่อัตราการว่างงานของประเทศไทยที่ต่ำมากจนติดอันดับต้นๆ ของโลก จึงทำให้เรามีกำลังแรงงานมากกว่าประเทศฟิลิปปินส์





.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น